Skip to content
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักมากบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
พายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค.64 - แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง
- ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 56,783 ล้าน ลบ.ม. (69%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 50,033 ล้าน ลบ.ม. (70%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 17 แห่ง (บึงบอระเพ็ด หนองหารกุมภวาปี อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯ ทับเสลา อางฯ กระเสียว อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล)
- กอนช. ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 13-20 ต.ค.64 ดังนี้
เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง และพังงา
เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ภาคตะวันออก
จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคกลาง จ.นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ภาตตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี
เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง และสถานการณ์น้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น บริเวณแม่น้ำมูล อ.สตึก อ.คูเมือง
จ.บุรีรัมย์ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อ.เมืองศรีสะเกษ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ แม่น้ำป่าสัก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี แม่น้ำลพบุรี อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี แม่น้ำท่าจีน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี - กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่มีแนวโน้มดีขึ้น หลังปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง บริเวณ อ.เมือง
จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง กรมชลประทาน ได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมปรับลดปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายลง ทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนบริเวณ อ.พัฒนานิคม ลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมสถานการณ์น้ำดีขึ้นตามลำดับ คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม ระดับน้ำจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ระดับตลิ่งประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน
ลุ่มน้ำชี-มูล ได้ทำการตัดยอดน้ำเข้าไปเก็บกักในพื้นที่แก้มลิงติดกับแม่น้ำชี พร้อมจัดจราจรทางน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล เพื่อเร่งการระบายน้ำในลำน้ำชี-มูล ลงสู่แม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับต่ำกว่าแม่น้ำมูลประมาณ 3.6 เมตร จึงทำให้การระบายทำได้ดี ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม สถานการณ์น้ำจะกลับเข้าสู่ตลิ่งประมาณสิ้นเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงฤดูฝน กอนช. จึงขอให้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำหลากควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้าให้ได้มากที่สุด
ความช่วยเหลือ แก้ไขและบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินและวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์อย่างทันท่วงที