Skip to content
- ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ภาคใต้ฝนลดลง
- แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
- ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 15,830 ล้าน ลบ.ม. (27%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 11,449 ล้าน ลบ.ม. (24) เฝ้าระวังน้ำน้อยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 12 แห่ง
- ค่าความเค็ม แม่น้ำแม่กลอง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง
ค่าความเค็ม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน - กอนช. ประสานกำลังทุกหน่วยงานด้านน้ำเตรียมรับมือสถานการณ์ ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ระบุวางแผนจัดสรรน้ำตามความสำคัญของกิจกรรม โดยน้ำอุปโภค-บริโภคต้องมาลำดับแรก พร้อมกำหนด 10 มาตรการ รองรับฤดูฝนปี 64 มั่นใจสามารถบริหารจัดการน้ำตลอดฤดูให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อพี่น้องประชาชน
กอนช. ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในทุกด้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมบูรณาการกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนปี 2564 พบว่า ปีนี้ฝนจะมาเร็วและทิ้งช่วงโดยฝนจะเริ่มตกในเดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายน และฝนจะตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเป็นลักษณะของฝนทิ้งช่วง ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ดังนั้นจึงต้องมีการการวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้เพียงพอในทุกกิจกรรม
สำหรับปัญหาน้ำเค็ม กอนช. ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วม และน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ ประเมินช่องว่างในการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ พบว่า เดือนพฤษภาคม มีพื้นที่เสี่ยงบริเวณภาคอีสานตอนล่างและบางส่วนของภาคกลางและภาคเหนือ เดือนมิถุนายนมีพื้นที่เสี่ยงบริเวณภาคเหนือ เดือนกรกฎาคมและสิงหาคมมีพื้นที่เสี่ยงบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่ง กอนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ กำหนดมาตรการ 10 มาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์ฤดูฝนปี 2564 จึงมั่นใจว่าจะสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2564 เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนได้อย่างแน่นอน